เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
16/3/63
การประยุคใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้งานบ่อย ไมโครซอฟท์เวิร์ด (Microsoft Word)
ไมโครซอฟท์เวิร์ด (Microsoft Word) คือโปรแกรมประเภท Word Processor ที่ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร เช่น รายงาน จดหมาย หรือแม้แต่งานนวนิยาย
เป็นหนึ่งในโปรแกรมไมโครซอฟท์ออฟฟิศ ที่มีการพัฒนามาแล้วหลายเวอร์ชั่น เช่น ไมโครซอฟท์เวิร์ด 2007, 2010, และ 2013 ขึ้นไป
ไมโครซอฟท์เวิร์ดทำอะไรได้บ้าง
- พิมพ์จดหมาย รายงาน
- ใส่ตารางและบวกเลขได้
- ใส่หมายเลขหน้าแบบอัตโนมัติ
- แทรกรูปภาพในเอกสาร
- ปรับเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษร ขนาด
- มีตัวช่วยค้นหาคำและเปลี่ยนคำผิดได้อัตโนมัติ (Find and Replace)
- สามารถใส่ส่วนหัว Header/ส่วนท้าย Footerได้
- สามารถตั้งขนาดของกระดาษได้หลากหลาย
- ทำจดหมายเวียน หรือ Mail Merge
- ใส่หน้าปกอัตโนมัติ
- มี Template สวยๆให้ใช้งาน
- พิมพ์จ่าหน้าของจดหมาย
- ตรวจสอบการแก้ไข หรือTrace Charge
- สามารถบันทึกเป็น PDF ได้อัตโนมัติ
หลักการทำงานของโปรแกรมสำเร็จรูป บนคอมพิวเตอร์
ส่วนประกอบหลัก
1. ต้องสามารถสร้างแฟ้มข้อมูลขึ้นมาใช้งานได้
2. ต้องสามารถบันทึกแฟ้มข้อมูลที่สร้างขึ้น เพื่อนำมาใช้งานในภายหลัง
3. ต้องสามารถเรียกแฟ้มข้อมูลเดิมที่มีอยู่มาใช้งานต่อได้
4. ต้องสามารถเรียกค้นหาแฟ้มข้อมูลที่อยู่บนอุปกรณ์บันทึกข้อมูลต่างๆได้
โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้งานบ่อย ไมโครซอฟท์เวิร์ด (Microsoft Word)
ไมโครซอฟท์เวิร์ด (Microsoft Word) คือโปรแกรมประเภท Word Processor ที่ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร เช่น รายงาน จดหมาย หรือแม้แต่งานนวนิยาย
เป็นหนึ่งในโปรแกรมไมโครซอฟท์ออฟฟิศ ที่มีการพัฒนามาแล้วหลายเวอร์ชั่น เช่น ไมโครซอฟท์เวิร์ด 2007, 2010, และ 2013 ขึ้นไป
ไมโครซอฟท์เวิร์ดทำอะไรได้บ้าง
- พิมพ์จดหมาย รายงาน
- ใส่ตารางและบวกเลขได้
- ใส่หมายเลขหน้าแบบอัตโนมัติ
- แทรกรูปภาพในเอกสาร
- ปรับเปลี่ยนรูปแบบตัวอักษร ขนาด
- มีตัวช่วยค้นหาคำและเปลี่ยนคำผิดได้อัตโนมัติ (Find and Replace)
- สามารถใส่ส่วนหัว Header/ส่วนท้าย Footerได้
- สามารถตั้งขนาดของกระดาษได้หลากหลาย
- ทำจดหมายเวียน หรือ Mail Merge
- ใส่หน้าปกอัตโนมัติ
- มี Template สวยๆให้ใช้งาน
- พิมพ์จ่าหน้าของจดหมาย
- ตรวจสอบการแก้ไข หรือTrace Charge
- สามารถบันทึกเป็น PDF ได้อัตโนมัติ
หลักการทำงานของโปรแกรมสำเร็จรูป บนคอมพิวเตอร์
ส่วนประกอบหลัก
1. ต้องสามารถสร้างแฟ้มข้อมูลขึ้นมาใช้งานได้
2. ต้องสามารถบันทึกแฟ้มข้อมูลที่สร้างขึ้น เพื่อนำมาใช้งานในภายหลัง
3. ต้องสามารถเรียกแฟ้มข้อมูลเดิมที่มีอยู่มาใช้งานต่อได้
4. ต้องสามารถเรียกค้นหาแฟ้มข้อมูลที่อยู่บนอุปกรณ์บันทึกข้อมูลต่างๆได้
15/3/63
เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกล ๆ เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่งอาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice)เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์, โมเด็ม, แฟกซ์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้น สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ ต้นแหล่งของข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/Decoder) ดังแผนภาพต่อไปนี้ คือ แผนภาพแสดงกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคม นอกจากนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้ต่อไปนี้ คือ
เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ, กล้องดิจิทัล, กล้องถ่ายวีดีทัศน์, เครื่องเอกซเรย์ ฯลฯ
เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะเป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็ก, จานแม่เหล็ก, จานแสงหรือจานเลเซอร์, บัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ
เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์, จอภาพ, พลอตเตอร์ ฯลฯ
เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม
เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์, วิทยุกระจายเสียง, โทรเลข, เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกล ลักษณะของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ดังนี้ ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในระบบสื่อสาร เช่น ระบบโทรศัพท์ จะมีลักษณะของสัญญาณเป็นคลื่นแบบต่อเนื่องที่เราเรียกว่า "สัญญาณอนาลอก" แต่ในระบบคอมพิวเตอร์จะแตกต่างไป เพราะระบบคอมพิวเตอร์ใช้ระบบสัญญาณไฟฟ้าสูงต่ำสลับกัน เป็นสัญญาณที่ไม่ต่อเนื่อง เรียกว่า "สัญญาณดิจิตอล" ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจะส่งผ่านสายโทรศัพท์ เมื่อเราต้องการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่น ๆ ผ่านระบบโทรศัพท์ ก็ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยแปลงสัญญาณเสมอ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "โมเด็ม" (Modem)
องค์ประกอบที่สำคัญของเทคโนโลยีโทรคมนาคม ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบที่สำคัญ
เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกล ๆ เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่งอาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice)เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์, โมเด็ม, แฟกซ์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้น สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ ต้นแหล่งของข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/Decoder) ดังแผนภาพต่อไปนี้ คือ แผนภาพแสดงกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคม นอกจากนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้ต่อไปนี้ คือ
เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ, กล้องดิจิทัล, กล้องถ่ายวีดีทัศน์, เครื่องเอกซเรย์ ฯลฯ
เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะเป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็ก, จานแม่เหล็ก, จานแสงหรือจานเลเซอร์, บัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ
เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์, จอภาพ, พลอตเตอร์ ฯลฯ
เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม
เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์, วิทยุกระจายเสียง, โทรเลข, เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกล ลักษณะของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ดังนี้ ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในระบบสื่อสาร เช่น ระบบโทรศัพท์ จะมีลักษณะของสัญญาณเป็นคลื่นแบบต่อเนื่องที่เราเรียกว่า "สัญญาณอนาลอก" แต่ในระบบคอมพิวเตอร์จะแตกต่างไป เพราะระบบคอมพิวเตอร์ใช้ระบบสัญญาณไฟฟ้าสูงต่ำสลับกัน เป็นสัญญาณที่ไม่ต่อเนื่อง เรียกว่า "สัญญาณดิจิตอล" ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจะส่งผ่านสายโทรศัพท์ เมื่อเราต้องการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่น ๆ ผ่านระบบโทรศัพท์ ก็ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยแปลงสัญญาณเสมอ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "โมเด็ม" (Modem)
องค์ประกอบที่สำคัญของเทคโนโลยีโทรคมนาคม ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบที่สำคัญ
ต้นกำเนิดข่าวสาร (Source of Information)
เป็นส่วนแรกในระบบการสื่อสารโทรคมนาคม เป็นแหล่งที่มาของข่าวสารต่าง ๆ ที่ผู้ส่งต้องการที่จะส่งไปยังผู้รับที่ปลายทางตัวอย่างในระบบโทรศัพท์ หรือระบบวิทยุกระจายเสียง ส่วนนี้ก็คือเสียงพูดของผู้พูดที่ต้นทาง ซึ่งจะถูกไมโครโฟนเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าที่เหมาะสม และส่งเข้าไปในระบบ หรือในกรณีระบบการสื่อสารข้อมูล (Data Communication) ส่วนนี้อาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ Data Terminal ประเภทต่าง ๆ
เครื่องส่งสัญญาณ (Transmitter)
ทำหน้าที่ในการแปลงหรือเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าที่ใช้แทนข่าวสารจากต้นกำเนิดข่าวสารให้เป็นสัญญาณหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เหมาะสมในการส่งต่อไปยังปลายทางเช่นระบบโทรศัพท์ ตัวเครื่องโทรศัพท์จะแปลงสัญญาณไฟฟ้าที่ใช้แทนเสียงพูด ให้เป็นสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าที่เหมาะสมและส่งต่อไปยังปลายทางสำหรับในระบบการสื่อสารข้อมูล ส่วนนี้จะเป็น MODEM หรืออุปกรณ์อื่นที่เหมาะสมในการเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าที่มาจากคอมพิวเตอร์เพื่อให้เป็นสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าที่เหมาะสมในการผ่านระบบสื่อสัญญาณไปยังปลายทาง
ระบบการส่งผ่านสัญญาณ (Transmission System)
เครื่องส่งได้เปลี่ยน หรือแปลงสัญญาณไฟฟ้าที่ใช้แทนข่าวสารต่าง ๆ ให้เป็นสัญญาณหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เหมาะสม สัญญาณก็จะถูกส่งผ่านระบบระบบการส่งผ่านสัญญาณ เพื่อส่งต่อไปยังเครื่องรับและผู้รับที่ปลายทางดังนั้นระบบการส่งผ่านสัญญาณจึงถือได้ว่านับเป็นส่วนที่สำคัญและจำเป็นมากในระบบการสื่อสารโทรคมนาคม
เครื่องรับสัญญาณ (Receiver)
เครื่องรับสัญญาณ เป็นส่วนที่ทำการเปลี่ยนสัญญาณ หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่ถูกส่งผ่านระบบการส่งผ่านสัญญาณจากต้นทาง เพื่อให้กลับมาเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ใช้แทนข่าวสารที่ถูกส่งมาจากต้นทาง ทั้งนี้เพื่อส่งให้อุปกรณ์ปลายทางทำการแปลง หรือเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้านั้น ให้กลับมาเป็นข่าวสารที่ผู้รับสามารถเข้าใจความหมายได้สำหรับระบบการสื่อสารข้อมูลส่วนนี้จะเป็น MODEM หรืออุปกรณ์ที่เหมาะสมในการเปลี่ยนสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ใช้ข้อมูลในรูปแบบที่ถูกต้อง และเหมาะสมสำหรับการส่งต่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นอุปกรณ์บางชนิด เช่น MODEM อาจเป็นได้ทั้งอุปกรณ์ในการส่ง และรับสัญญาณ ในอุปกรณ์ชนิดเดียวกัน
ผู้รับสัญญาณ (Destination)
ผู้รับสัญญาณ เป็นส่วนสุดท้ายในระบบการสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งทำหน้าที่รับข้อมูลข่าวสารที่ส่งมาจากต้นกำเนิดข่าวสารดังนั้นอุปกรณ์รับสัญญาณ และอุปกรณ์ส่งสัญญาณ อาจเป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวกันก็ได้เช่นคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
12/3/63
เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?
เทคโนโลยีสารสนเทศ
หรือไอที (Information Technology : IT)คือการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์-โทรคมนาคมเพื่อนำมาใช้จัดเก็บค้นหา จัดส่ง กระจายออก ติดตาม รวบรวม และจัดการข้อมูลต่างๆ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
มาจากคำว่า “ เทคโนโลยี” รวมกับคำว่า “สารสนเทศ”
“เทคโนโลยี” คือสิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่างๆ
ได้แก่ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุ รวมถึงสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่นระบบ
หรือ กระบวนการต่างๆ
ที่ช่วยให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกมากขึ้น
“สารสนเทศ” หมายถึง ข้อมูล ข้อเท็จจริง ข่าวสาร ความรู้ ที่ได้มีการบันทึก ประมวล
หรือดำเนินการด้วยวิธีใดๆไว้ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์
และเผยแพร่ทั้งส่วนบุคคล และสังคม
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง
การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์
และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น โดยนำเอาเทคโนโลยีด้านต่างๆโดยเฉพาะ
เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการสารสนเทศ เช่น คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
มาจัดการกับสารสนเทศอย่างเป็นระบบเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด
องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ
เครื่องคอมพิวเตอร์
เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้ง ซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน
ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)
2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งานเพื่อรวบรวม
จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ
ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล
เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)